เครื่องมือตรวจสอบของประชาชนเข้าถึงได้ขนาดไหน-

รายการกาแฟดำ สัมภาษณ์ พิเศษ นิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่องปัญหาข้อมูลสาธารณะผ่านสายตา เลขาธิการ ป.ป.ช. เปิด "ข้อมูลสาธารณะ" ป.ป.ช.หนุนใช้ต้านโกง ขอบเขตการใช้งาน และการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะยังคงเป็นประเด็นอ่อนไหว รวมทั้งความท้าทายในการทำงานของ ป.ป.ช. ในอนาคต จากผลพวงของนโยบายหาเสียงในช่วงการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น “กรณ์” เจาะกติกาเลือกตั้ง 2566 | กาแฟดำDouble Shot Special

“รายการกาแฟดำ” ชี้เป้า! ภัยร้ายทางสมอง ที่ไม่ควรมองข้าม

“พีพีทีวี” ชงเข้ม “กาแฟดำ” พร้อมเสิร์ฟหน้าจอ 6 พ.ค.นี้ สูตรต้นตำรับ “สุทธิชัย หยุ่น” คุยทุกเรื่อง…

สุทธิชัย : เรื่องซื้อเสียงขายเสียงเนี้ยปปช.สนใจแค่ไหน นิวัติไชย: ในเรื่องต่างๆ เนี้ยปปช.เฝ้าสลับดับฟังมาตลอด สุทธิชัย: หนักใจแค่ไหน เลือกตั้งครั้งนี้เทียบกับเลือกตั้งที่ผ่านมา นิวัติไชย: ทุกอย่างเนี่ยเป็นความเสี่ยงในการดำเนินการ ของเจ้าหน้าที่ปปช.ทั้งนั้น เพราะโอกาสถูกฟ้องกลับมีอยู่ทุกขณะนะครับผม สุทธิชัย: ดังนั้นปีนี้จะต้อง เพิ่มอะไรตรงไหนยังไง นิวัติไชย: คือเรามั่นใจในกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะศาล ปปช. เป็นแค่พนักงานสอบสวนระดับต้น ที่ส่งเรื่องไปให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย สุทธิชัย : ครับ นิวัติไชย: ขอให้ศาลได้พิจารณาเถอะครับ สุทธิชัย: สวัสดีครับต้อนรับเข้าสู่กาแฟดำครับ ช่วงนี้การหาเสียงเลือกตั้ง ก็เข้าสู่ช่วงสุดท้ายจริงๆ ครับ ผมก็ติดตามพรรคการเมืองทุกพรรคที่หาเสียง นโยบายสำคัญๆ เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการเมืองเรื่องความมั่นคง แต่ผมตั้งข้อสังเกตครับว่า ครั้งนี้ดูเหมือนจะเน้นเรื่องปราบปรามทุจริตประพฤติมิชอบ น้อยลงกว่าการเลือกตั้งคราวก่อนๆ หรือเปล่าเป็นเพราะอะไร ดังนั้นวันนี้ผมต้องมาที่นี่ครับมาที่ปปช. เลยครับ เพื่อจะมาตั้งวงคุยกับท่าน เลขาธิการ ว่าเอ๊ะช่วงเนี่ย มันเป็นฤดูที่ท่านจะต้องรับศึกหนักไหมเพราะว่าใกล้เลือกตั้งแล้ว สุทธิชัย: พบกับท่านเลขาครับ นิวัติไชย: สวัสดีครับคุณสุทธิชัยครับ สุทธิชัย: ท่านนิวัติไชย เกษมมงคล นะครับ นิวัติไชย: ครับ สุทธิชัย: ซึ่ง ก็ได้เคยคุยกันแต่วันนี้ผมมาเพื่อจังหวะจะโคลนช่วงหาเสียง จริงไหมครับที่ผมสังเกตว่าพรรคการเมืองให้ความสำคัญกับนโยบายต่อต้านทุจริตน้อยลงไหมท่านว่า นิวัติไชย: ผมคิดว่าแทบจะไม่มีเลยมั้งครับ สุทธิชัย: โอ้โห นิวัติไชย: เท่าที่รับฟังนโยบายการหาเสียงมานะครับ สุทธิชัย: เพราะอะไรเพราะมันยากใช่มั้ย หรือว่ามันรับปากแล้วทำไม่ได้ใช่ไหม นิวัติไชย: มันอาจจะเป็นเรื่องที่คือประชาชนทั่วไปอาจจะมองเรื่องเศรษฐกิจแล้วก็ปากท้องเป็นสำคัญ

สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: นะครับ จึงละเลยในประเด็นเรื่องการ ทุจริตคอรัปชั่น หรืออีกในเรื่องหนึ่งว่าวันนี้เรื่องการทุจริตคอรัปชั่นเนี่ย มันปรากฏข่าวก็อยู่กับทุกพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นการโชว์ประเด็นนี้ขึ้นมามันอาจจะไปกระทบนะครับ ต่อสิ่งที่ผ่านมาหรือข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ออกมา สุทธิชัย: ก็คิดว่า ตรงนี้น่าสนใจ ประชาชนอย่างพวกเราที่มีสิทธิ์จะไปเลือก นิวัติไชย: ครับ สุทธิชัย: เราก็อยากจะรู้เพราะว่าข่าวช่วงหลังนี้ เรื่องคอรัปชั่น เรื่องสินบน เรื่องประพฤติมิชอบมันมีมากขึ้น นิวัติไชย: ครับ สุทธิชัย: จริงไหมครับว่าช่วงหลังเนี่ย มี คอรัปชั่นมากขึ้นหรือเป็นเพราะว่ากำลังใกล้เลือกตั้ง การหาเสียงก็ต้องจับประเด็นเหล่านี้ เพื่อเล่นงานฝ่ายตรงกันข้าม นิวัติไชย: ผมคิดว่าประเด็นเรื่องการทุจริตเนี่ย มันมีอยู่สม่ำเสมอเพียงแต่ว่าคนที่จะออกมาชี้ช่องเบาะแสเนี่ย สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย:อาจจะยังไม่มีความกล้า วันนี้พอประชาชนภาคีเครือข่าย มีความเข้มแข็งมากขึ้น มองอีกมุมนึง นะครับ สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: ก็มองว่าเค้ากล้าที่จะออกมาให้ข้อมูล วันนี้ที่บอกว่ามีกระแสข่าวในประเด็นเรื่องการทุจริตเพิ่มมากขึ้นเนี้ยมันเป็นเรื่องที่ดี สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: ทำให้สังคมได้ตระหนักนะครับว่าวันนี้เราเพิกเฉยต่อสถานการณ์ทุจริตคอรัปชั่นในประเทศไทยไม่ได้แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่เป็นผู้บริหารสูงสุดของประเทศ สุทธิชัย: ครับ แต่มันทำให้คนที่เขาตั้งใจที่จะโกงเนี่ยเค้าจะแนบเนียนขึ้นไหมเค้าต้องหาวิธีหลบเลี่ยงเพราะว่ารู้แล้วว่าอ่าต่อไป จะมีคนมาจับผิดจะมีคนหาเรื่องมากขึ้น ก็เลยคิดนวัตกรรมคอรัปชั่นหนักขึ้นไหม นิวัติไชย: ผมคิดว่าก็มีส่วนนะครับ เพราะเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นเนี่ย มันมีวิวัฒนาการมัน เหมือนเราไปไล่ปราบ เค้าก็มีกระบวนการที่จะปรับปรุงแก้ไข สุทธิชัย: ใช่เค้าก็หลบเลี่ยง นิวัติไชย: ในสิ่งที่เรา…ใช่ครับ และยิ่งเราไปปราบ ในจุดไหนเค้าจะรู้ช่องโหว่ช่องว่างว่าสิ่งที่เขาทิ้งร่องรอยหลักฐานไว้เนี่ยเค้าต้องกลบอย่างไร สุทธิชัย: นั่นสิครับ นิวัติไชย: ไอ้เนี่ยเหมือนเราไปชี้โพรงให้กระรอกแต่ อย่างไรก็ดีครับ เราก็มีวิวัฒนาการเพิ่มเติมนะครับแม้เราจะวิ่งไล่กวดเค้านะครับ แต่ถ้าเกิดเราไม่วิ่งไล่กวดเค้าเลยเนี่ยเราแทบจะวิ่งตามเขาไม่ทันนะครับ วันนี้ก็อย่างน้อยๆ ว่าให้รู้เห็นแนวทางการทุจริตคอรัปชั่นว่าในรูปแบบ ยังไงผมก็คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเนี่ยนะครับไม่ทิ้งร่องรอยแบบเดิมๆ เอาไว้นะครับ สุทธิชัย: แต่ก็ยัง มีร่องรอย นิวัติไชย: แต่ยังมีร่องรอยให้เห็นอยู่นะครับมีร่องรอยเห็นอยู่ โดยเฉพาะอยากจะเรียนว่าวันนี้ ถ้าเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานนั้นน่ะ กล้าที่จะออกมาชี้ช่องเบาะแสไม่จำเป็นต้องเปิดเผยชื่ออะครับ แค่ออกมาให้ข้อมูลแค่นั้นเองนะครับว่าเค้าทุจริตกันยังไง เค้ามีการซิกแซ็กเค้ามีการซ่อนปมในเงื่อนไขอะไรบ้างให้เราสามารถสาวไปได้ สุทธิชัย: แค่ชี้เบาะแส นิวัติไชย: แค่ชี้เบาะแส สุทธิชัย: เราปปช. สามารถไปตามร่องรอยเหล่านั้นได้ นิวัติไชย: ถูกต้องครับนะฮะ แต่ถ้าประชาชน ไม่ตื่นตัว สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: ไม่มีความเข้มแข็งเราปล่อยเค้ากระทำนะครับ เค้าชอบโกงเงินไปเรื่อยเรื่อยในแต่ละปีงบประมาณเนี่ยนะครับ มันก็เท่ากับว่างบประมาณที่เราใช้จ่ายลงไปมันสูญหายไป สุทธิชัย: ถูกต้อง นิวัติไชย: เม็ดเงินใช้ไม่เต็มที่ สุทธิชัย: ถูกต้องเลยครับ เห็นมีการพูดจาระหว่าง กกต. กับ ปปช. เนี่ย นิวัติไชย:ครับ สุทธิชัย: เรื่องการหาเสียง นิวัติไชย: หาเสียงครับ สุทธิชัย: โดยที่ออกมาย้ำว่าในรัฐธรรมนูญ นิวัติไชย:ครับ สุทธิชัย: มีกำหนดไว้นะ นิวัติไชย: ครับ สุทธิชัย: การที่จะใช้เงินเพื่อที่จะเสนอโครงการต่างๆ นิวัติไชย: ครับ สุทธิชัย: ต้องมีที่มาที่ไป นิวัติไชย: ใช่ครับ สุทธิชัย: งบมาจากไหนและวิเคราะห์ ข้อได้ข้อเสียยังไงเนี่ย นิวัติไชย: ใช่ถูกต้องครับ สุทธิชัย: ข้อนี้จะทำยังไง ถึงจะจับได้ นิวัติไชย: ความจริงข้อเนี่ยนะครับเราก็มีการข้อเสนอและส่งไปให้ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว นะครับ สุทธิชัย: กกต. เนี้ยนะ นิวัติไชย: เป็นข้อเสนอเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง ต่อนโยบายการหาเสียงของพรรคการเมืองเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นในสิ่งที่ผ่านมาในอดีตเช่นโครงการต่างๆ ที่บอกจะรับจำนำข้าวมั่ง จะรับทำนู้นทำนี่มั่ง และมันสามารถทำได้ก็จริงอ่ะนะครับแต่ต้องใช้เงินมหาศาล สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: และมันไม่คุ้มค่ากับนั่น งบประมาณ มันเป็นการ สูญเสียไป สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: เพราะฉะนั้นเวลาที่นโยบายหาเสียงก็ต้องมองว่ามันทำได้จริงไม๊ก่อน สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: เม็ดเงินที่จะเอามาทำเอามาจากไหน สุทธิชัย:ครับ นิวัติไชย: จะขับเคลื่อนอย่างไรรูปแบบไหนนะครับ และรัฐต้องใช้จ่ายงบประมาณเนี่ยจำนวนเท่าไหร่ อันเนี่ยเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องมีการวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงต่อนโยบายการหาเสียงครับ เพราะประชาชนเองนะครับ ปัญหาปากท้องนี่สำคัญ สุทธิชัย: ใช่ นิวัติไชย: ถ้าบอกว่ามีคนจะให้สิทธิ์สวัสดิการผมเพิ่ม 500 600 เอ้..ผมก็ต้องเอาก่อนและ สุทธิชัย: อยากได้อยู่แล้ว นิวัติไชย: อยากได้อยู่แล้วครับ สุทธิชัย: แต่ว่า ประชาชนต้องเริ่มถามแล้วว่าเอ๊ะคุณเอาเงินมาจากไหนอ่ะ นิวัติไชย: ใช่ครับ สุทธิชัย: ฉะนั้นปปช.พอเห็น ประเด็นนี้ติดตามไหมว่าแต่ละพรรคหาเสียงรับปากอะไรบ้างที่ต้องใช้งบประมาณ นิวัติไชย: ในเรื่องนโยบายหาเสียงเนี่ยความจริงปปช.เค้ารวบรวมข้อมูลนะครับ แต่อย่างว่าในเรื่องนี้มันเป็นเรื่องสิทธิของทางพรรคการเมืองนะครับ อยู่ที่ความเชื่อของประชาชน สุทธิชัย: แต่มันอยู่ในรัฐธรรมนูญนิ มาตรา 57 นิวัติไชย: มันอยู่ในรัฐธรรมนูญใช่ครับผม แต่ก็ต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก็คือก่อนการเข้ามาสู่กระบวนการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเนี่ยมันจะมีคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องรับผิดชอบเป็นด่านแรกก่อน คัดคน คัดนโยบาย สุทธิชัย: กกต. เป็นด่านแรกนะ นิวัติไชย: ใช่ครับกกต.เป็นด่านแรก แต่เมื่อกกต.ผ่านมาให้เค้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือมาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วันนั้นน่ะถึงจะเริ่มนะครับว่าเป็นหน้าที่ปปช.ที่จะต้องลงไปตรวจสอบว่า เมื่อคุณทำนโยบายอย่างนี้มันมีการทุจริต มันจะมี hidden agenda แฝงอย่างไรไว้ วันนี้ปปช.ก็ส่ง ข้อเสนอแนะไปให้กกต. และอยากจะเน้นย้ำนะครับว่าให้กกต. ช่วยไป พิจารณาและหามาตรการนะครับ ที่จะไปสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนในการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับเรื่องนโยบายการหาเสียงของพรรคต่างๆ

สุทธิชัย: ปปช.ก็แค่มองว่ามันมีโอกาส

นิวัติไชย: ครับ

สุทธิชัย: หรือส่อไปในทาง

นิวัติไชย:ใช่ครับ

สุทธิชัย: ที่อาจจะมีการทุจริต

นิวัติไชย: ที่อาจจะมีการทุจริตได้ในต่อไป

สุทธิชัย: อันนี้แค่ส่อไปในทางทุจริตนี่ เราเริ่ม

นิวัติไชย: ครับ

สุทธิชัย: ส่งเสียงเตือนได้หรือยัง

นิวัติไชย: ส่งเสียงเตือนได้เลยครับผม แต่ส่งเสียงเตือนเนี่ยก็เป็นเพียงการให้ข้อเสนอแนะ หรือแนะนำ

สุทธิชัย: ใช่

นิวัติไชย: นะครับ แต่ถ้าเค้าไม่ดำเนินการตามเราก็ไม่มีมาตรการอะไร

สุทธิชัย: เราไปเอาป้ายหาเสียงเค้าแล้วบอกว่านี่ รับปากเกิดเหตุนี้ไม่ได้

นิวัติไชย: เราก็คงไปชี้นำถึงขนาดนั้นไม่ได้

สุทธิชัย: แต่กกต.น่าจะได้ ใช้คำนี้มันทำให้ประชาชน หลงผิดว่า

นิวัติไชย: ครับ

สุทธิชัย: คุณจะทำอย่างนี้ได้ไหม

นิวัติไชย: ใช่ครับ เพราะกกต. มีหน้าที่ในการสอบสวนอยู่แล้ว การหาเสียงอะไรมันมีกติกาของมันอยู่แล้วนะครับ เพียงแต่ว่าบังคับใช้ว่ากติกานั้นต้องเข้มงวดและเอาจริงเอาจังมากน้อยแค่ไหน

สุทธิชัย: ดังนั้นนี้ก็เป็นหนึ่ง ผมคิดว่าที่ประชาชนอยากจะรู้ว่าปปช.คิดอะไรยังไงกันอยู่ หนักใจแค่ไหน เลือกตั้งครั้งนี้เทียบกับเลือกตั้งที่ผ่านมาหรือพฤติกรรมที่เราเห็นตอนนี้โอ้ว.. ล่าสุดมีการฟ้องเรื่องโครงการ นี่เงินหายไปไหน ทั้งหมดเนี่ย ปปช.พอเห็น มีการเปิดเผยอย่างเนี้ยทำยังไงกับข้อกล่าวหาต่างๆ เหล่านั้น

นิวัติไชย: เออ.. ปกติเนี้ยเรื่องต่างๆที่ เค้ากล่าวเข้ามา ในกระแสโซเชียลเนี่ย ปปช. รับไว้เกือบหมดแล้ว

สุทธิชัย: เค้าไม่ต้อง มายื่นเราพอได้เห็นข่าวอย่างกรณีคุณชูวิทย์หรือใครก็ตามแต่เนี่ย ปปช. ต้องตามเลยมั้ย

นิวัติไชย: ต้องตามเลยครับผมกฎหมายเขียนเลยครับ ปปช. มีหน้าที่และอำนาจยกเหตุแห่งควรสงสัยเราก็จะมีหน่วยการข่าวนะครับ หน่วยกิจการพิเศษเนี่ย คอยประมวลข่าวทุกวันนะครับ เพราะฉะนั้นในเรื่องต่างๆ เนี่ย ปปช.เฝ้าสลับดับฟังมาตลอดนะครับ เราก็มอนิเตอร์อยู่เรื่อย ว่าจะมีสถานการณ์อะไรที่มีผลกระทบ ซึ่งอาจนำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่นในอนาคตได้

สุทธิชัย: ครับ เรื่องซื้อเสียงขายเสียงเนี่ย ปปช.สนใจแค่ไหน

นิวัติไชย: ซื้อเสียงขายเสียงเนี่ยความจริงแล้วเนี่ยมันก็เป็นหน้าที่ของทาง กกต.

สุทธิชัย: กกต.

นิวัติไชย: ที่จะไป ที่จะไปสอบสวนแต่

สุทธิชัย: แต่มันจะนำไปสู่คอรัปชั่นได้

นิวัติไชย: ใช่ครับ เพราะเค้าต้องหาทุนคืน

สุทธิชัย: ใช่

นิวัติไชย: แต่ทีนี้เป็นการซื้อก่อนที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง แต่ถ้าเค้ามาดำรงตำแหน่งแล้วมาหาเงินคืนอันนี้ปปช.ต้องรับผิดชอบ

สุทธิชัย: อ่อ

นิวัติไชย: อย่างไรก็ดี

สุทธิชัย: ครับ

นิวัติไชย: อย่างไรก็ดีถ้ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง

สุทธิชัย: ครับ

นิวัติไชย: กับเรื่องการไปช่วยเหลือในการเลือกตั้งในการไปวิ่งล๊อบบี้คะแนนเสียง โดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ เรื่องนี้จะเข้าสู่ของปปช.แล้ว

สุทธิชัย: เข้าเลย แล้วปปช. จะเอาคนที่ไหนมาจับตาดูเพราะมันทั่วประเทศแล้วก็หาเสียงลงไปถึงระดับตำบล ระดับหมู่บ้านเนี่ย

นิวัติไชย: วันนี้ที่ปปช.ได้ข้อมูลมาก็จากภาคประชาชน หรือภาคีเครือข่าย หรือเรื่องร้องเรียนนะครับ

สุทธิชัย: ครับ

นิวัติไชย: ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร้องเรียนที่อาจจะมีการ การกลั่นแกล้งกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริง ไม่ว่าจะเป็นข่าวเท็จ ปปช. ก็ต้องสลับดับฟังทั้งหมด และเอามาสังเคราะห์ เพราะปปช.เองเนี้ย เราไม่ได้อยู่ในพื้นที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

สุทธิชัย: ใช่ ใช่

นิวัติไชย: เช่นมีการกระทำผิดปปช.ไม่ได้อยู่ตรงนั้นนะครับ แต่ก็จะมีคนที่รู้เห็นเหตุการณ์

สุทธิชัย: ครับ

นิวัติไชย: และนำเรื่องนี้มาบอกต่อๆ กันหรือมาส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามาสู่ปปช. ให้ปปช.เข้าไปดำเนินการตรวจสอบ ปปช.ก็มีหน้าที่ ก็ต้องลงไปตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงมันเป็นยังไง เจ้าหน้าที่ของรัฐ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือเข้าไปช่วยเหลือในประเด็นเรื่องนี้อย่างไรบ้างครับ

สุทธิชัย: ครับ ปปช. จะไม่มีแผนจะมีอาสาสมัครท้องถิ่นเหมือนกับอย่างกระทรวงสาธารณสุข เค้าก็มีอาสาสมัครใช่ไหม

นิวัติไชย: ครับความจริงปปช.มีแล้วนะครับ

สุทธิชัย: เอ้าหรอครับ

นิวัติไชย: ปปช. เค้าเรียกว่ากลุ่มสตรอง เราสร้างเครือข่ายสตรองนี้มาหลายปีแล้วนะครับ สตรอง ก็คือภาพภาคีเครือข่ายของประชาชนในพื้นที่หรือในชุมชน เช่นในจังหวัดนึง ก็มีคนที่คอยเฝ้า ระมัดระวังการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

สุทธิชัย: ครับ

นิวัติไชย: แนวการป้องกันการทุจริต

สุทธิชัย: ครับ

นิวัติไชย: ก็มาร่วมมือกัน เราก็จะตั้ง เป็นกลุ่มสตรองในจังหวัด

สุทธิชัย: ถูกต้อง

นิวัติไชย: นอกจากนี้ปปช. เองเนี่ยเรามีการขยายเครือข่าย เราไม่ได้สร้างเครือข่ายเฉพาะสตรอง เครือข่ายที่มีอยู่แล้วเดิมเนี่ยเราก็ลงไปให้ความรู้เขา เช่น อสม.เดี๋ยวเราจะเข้าไป เครือข่ายชุมชนต่างๆ

สุทธิชัย: อ่อ ที่มีอยู่แล้วเราก็ไป

นิวัติไชย: เพิ่มเติม

สุทธิชัย: เพิ่มทักษะ

นิวัติไชย: ให้เค้าช่วยดูแล

สุทธิชัย: วิธีแนะนำ

นิวัติไชย: ถูกต้องครับ

สุทธิชัย: อันนี้สำคัญเลยนะ มันมีอยู่แล้ว

นิวัติไชย: มันมีอยู่แล้ว ครับท่านครับ และบางครั้งเครือข่ายที่เราพบว่าบางท่านก็สวมลายหมวก

สุทธิชัย: ช่าย

นิวัติไชย: เป็นทั้ง อสม. เป็นทั้งเครือข่ายสตอง เป็นทั้งเครือข่ายชุมชนโน่นชุมชนนี่หรือ เป็นทั้งเครือข่ายกองทุน

สุทธิชัย: ครับ

นิวัติไชย: เพราะฉะนั้นวันนี้ ปปช. พยายามทำดาต้าหรือข้อมูลของบุคคลนั้นว่าหนึ่งถ้าได้รับการฝึกอบรม เป็นเครือข่ายของหน่วยงานไหนบ้างนะครับ เพราะฉะนั้นท่านจะใส่เสื้อสีอะไรเราไม่รู้แต่ถ้าท่านไล่จับหนูได้ท่านก็เป็นเครือข่ายของ ปปช.ได้เหมือนกัน

สุทธิชัย: ถูกต้องเพราะมันจะลงไปถึงระดับอบต.

นิวัติไชย: ถูกต้องครับ

สุทธิชัย: แต่ช่วงหลังนี่ ปปช. ก็ถูกฟ้องกลับเหมือนกันใช่มั้ย

นิวัติไชย: ก็มีเกือบทุกคดีครับโดยเฉพาะทางศาลปกครองเวลาปปช.ชี้มูล และส่งเรื่องไปให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัย พอเค้าถูกไล่ออกเค้าก็ฟ้องต้นสังกัด ปปช. ก็ต้องร้องสอดเข้าไปเป็นคู่กรณีด้วย

สุทธิชัย: อ่อ

นิวัติไชย: รวมทั้งถูกดำเนินคดีอาญาก็มี คณะกรรมการ ปปช. ก็ถูกฟ้องคดีอาญา

สุทธิชัย: ครับ

นิวัติไชย: ผมเองก็ถูกฟ้องภายในหลายคดีนะครับ แต่เราถือว่าเป็นเรื่องการปฎิบัติหน้าที่นะครับเพราะฉะนั้นอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่พอใจหรืออะไรต่างๆ ก็โอกาสจะแก้เกี้ยว

สุทธิชัย: ใช่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นิวัติไชย: โอกาสจะแก้ตัว ก็ไปฟ้องว่า เอ้ยผมบริสุทธิ์นะ ผมถึงไปฟ้องเพราะว่าคุณกระทำให้ผมเสียหาย อันนี้เป็นเรื่องปกติเราก็ไม่ได้ว่าอะไรเขานะครับ

สุทธิชัย: มันทำให้เจ้าหน้าที่ปปช. เกิดกลัวขึ้นมาไหมว่าเดี๋ยวจะโดนฟ้องกลับ ทำให้การทำหน้าที่ไม่เข้มแข็งเท่าที่ควรไหมครับ

นิวัติไชย: ผมคิดว่าเคสเหล่านี้ที่เราถูกฟ้องเนี้ย มันจนเคยชินแล้วมันชินชาแล้วนะครับ

สุทธิชัย: ชินขาแล้ว

นิวัติไชย: คือเรามั่นใจในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะศาลในการพิจารณาตัดสินนะครับว่ากระบวนการที่เราทำชอบด้วยกฎหมายและระเบียบในขั้นตอน ส่วนข้อเท็จจริงเนี่ยเป็นเรื่องการวินิจฉัย

สุทธิชัย: ครับ

นิวัติไชย: จะผิดจะถูกเราไม่ได้หมายความว่า

ปปช. ชี้มูลความผิดแล้วเค้าจะต้องผิด ต้องถูกตัดสินจำคุก เพราะกรณีอาจจะอัยการสั่งไม่ฟ้องหรือในกรณีศาลสั่งว่ายกฟ้องว่าไม่มีมูลความผิดก็มีหลายคดีนะครับ ปแช. เป็นแค่พนักงานสอบสวนระดับต้น ที่ส่งเรื่องไปให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย

สุทธิชัย: ครับ

นิวัติไชย: ขอให้ศาลได้พิจารณาเถอะครับส่วนศาลจะตัดสินยังไงก็ยอมรับ แต่อย่างไรก็ดีคดีที่ปปช. ส่งไปยังศาลเนี้ย ประมาณเกือบ 90% ศาลลงครับ

สุทธิชัย: แสดงว่าต้องทำการบ้านอย่างดีนะ

นิวัติไชย:ครับ

สุทธิชัย: หลักฐานต่างๆนาๆต้องแน่นพอสมควรนะครับ

สุทธิชัย: เจอบ่อยไหมครับเอ่อ…ข้าราชการที่บอกว่าเอาเงินนี้เนี้ยไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผิดกฎหมายอะไร เป็นเงินบริจาคเป็นเงินสวัสดิการอะไรก็ว่าไปเจอบ่อยไหม นิวัติไชย: ส่วนใหญ่ที่ไปดำเนินการเนี่ยเขาก็จะบอกอย่างนี้ว่าไม่ใช่เงินที่เค้าเรียกรับ สุทธิชัย: อ้า นิวัติไชย: เป็นเงินอื่นหรือเป็นคนอื่นเอามาวางไว้เค้าก็ไม่รู้ไม่เห็น แต่เราโชคดีนะครับเพราะว่าลักษณะนี้เค้าหยิบมาแล้วแล้วเค้าเปิดดูแล้ว เพราะฉะนั้นในหลักฐานต่างๆทางนิติวิทยาศาสตร์เรามีครบถ้วนก็ถึงมีความมั่นใจ แต่บางคนมันอาจจะต่อสู้ว่า เอ้ยใครก็ไม่รู้เอามาวางไว้บนโต๊ะ สุทธิชัย: อ้า นิวัติไชย: ผมยังไม่ได้รับ สุทธิชัย: แน่นอนๆ นิวัติไชย: อันนี้ก็ๆ เป็นอันนึงเหมือนกัน ที่จะเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะฉะนั้นผมถึงบอกเลยว่า ทุกอย่างเป็นความเสี่ยงในการดำเนินการ ของเจ้าหน้าที่ปปช.ทั้งนั้น สุทธิชัย: ฉะนั้นมือมือปราบคอรัปชั่นนี้ต้อง แม่นแม่นแล้วก็ต้องละเอียดนะครับ นิวัติไชย: ครับ แล้วก็ต้องมีความมีความเสี่ยงด้วยยอมรับในผลที่ผิดพลาด สุทธิชัย: พร้อมความเสี่ยงด้วย นิวัติไชย: ถูกต้องครับผมเพราะโอกาสถูกฟ้องกลับ มีอยู่ทุกขณะนะครับผม สุทธิชัย: ปีนี้วางแผนยังไงครับ นิวัติไชย: ครับ สุทธิชัย: ปปช. ที่จะมีกิจกรรมที่เข้มข้นขึ้น นิวัติไชย: ครับ สุทธิชัย: และแน่นอนการเมืองเข้ามามีรัฐบาลใหม่เข้ามา งบประมาณใหม่ก็มาแล้วเนี่ย เตรียมการอะไรไว้บ้างที่จะป้องกัน นิวัติไชย: ครับ สุทธิชัย: และปราบปรามทุจริตครับ นิวัติไชย: วันนี้ก่อนที่เราจะทำอะไรเนี่ยเราต้องวิเคราะห์สถานการณ์ที่ผ่านมาก่อน สุทธิชัย: อื้ม นิวัติไชย: นะครับเพราะทุกปีเนี้ย เราจะมีข้อมูลดาต้าทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเรื่องกล่าวหาที่เข้ามา หน่วยงานที่ถูกกล่าวหา ประเภทของเรื่องกล่าวหา พื้นที่ที่เป็นความเสี่ยงที่ถูกกล่าวหา สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: เพราะฉะนั้นพอได้ ข้อมูลเหล่านี้มาเราก็มาวิเคราะห์นะครับว่าเราจะต้องเน้นหนักในเรื่องอะไร สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: วันนี้ปปช. ชูนโยบายในเรื่องการป้องปราม สุทธิชัย: ป้องปราม นิวัติไชย: เรามีการจัดตั้งศูนย์CDCขึ้น สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: เพื่อลงไประงับยับยั้งอย่างที่ท่านสิทธิชัยว่าเบื้องต้นที่ว่า ปปช.ถ้าเหตุสงสัยว่าจะมีการทุจริตต้องลงไปแล้วนะ สุทธิชัย: ใช่ นิวัติไชย: เพราะกฎหมายมันเขียนให้ ปปช. มีหน้าที่เพราะฉะนั้นอันนี้แหละครับเป็นมาตรการอันหนึ่งที่สำคัญ สุทธิชัย: ฉะนั้นปีนี้จะต้องเพิ่มอะไรตรงไหนยังไง มาตรการที่จะเข้มข้นขึ้นกฎหมายต้องแก้ไหม และเห็นบอกว่าถ้าเปิดข้อมูลข่าวสารเป็นสาธารณะ นิวัติไชย: ครับ สุทธิชัย: ก็จะช่วยป้องกันได้ดีขึ้น นิวัติไชย: ครับผม ถูกต้องครับในเรื่องการเปิดเผยopen data ของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้อง สุทธิชัย:ใช่ นิวัติไชย: นะครับวันนี้เราใช้ ITA พิธรก: ITA เนี่ย เป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่ว่าหน่วยงานของรัฐต้องจัดทำมาตรการเช่นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในทางโซเชียลมีเดีย สุทธิชัย: ใช่ นิวัติไชย: เพื่อให้ประชาชนเข้ามาถึงประชาชนจะได้รับรู้ว่าคุณไม่ได้ปกปิด ข้อมูลข่าวสาร สุทธิชัย: ถูกต้อง นิวัติไชย: เช่นการประกาศประกวดราคานะครับ สุทธิชัย: เรามีกฎหมายบังคับหรือยัง นิวัติไชย: ปกติมันมีกฎหมายอยู่แล้ว สุทธิชัย: อื้มมม นิวัติไชย: เพราะคำว่าประกาศ ต้องทำให้สาธารณะชนได้รับรู้รับทราบ สุทธิชัย: แต่หายากเหลือเกิน นิวัติไชย: เค้าไปปกปิดไม่ส่งข้อมูลไปกรมบัญชีกลางมั้ง ไปทำเอกสารเท็จ ส่งไปรษณีย์เสร็จไปขอกลับ แล้วก็บอกว่ามีหลักฐานหนังสือออกแล้ว สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: อย่างนี้เป็นต้น ถ้าไม่มีคนไปตรวจสอบไม่มีคนไปติดตาม ก็ไม่ได้แต่วันนี้อย่างที่ผมบอก ITA เนี้ย คุณต้องลงในเว็บไซต์ปปช.ก็จะไปรีเช็ค วันนี้คุณได้รับงบประมาณในเรื่องอะไรมีประกาศกี่ฉบับและประกาศลงเว็บไซต์หรือเปล่าและประกาศให้ประชาชนได้เข้าถึงไหมเปิดเผยกี่วันอันนี้เป็นขั้นตอนกำหนดที่ว่าถ้าคุณจะได้คะแนนITA สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย:เพราะฉะนั้น มันก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้หน่วยราชการต้องกระทำ สุทธิชัย: แต่ว่าITA นี่ เคร่งครัดแค่ไหนด้วยบางหน่วยราชการได้ ITA สูง แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องคอรัปชั่นใช่ไม๊ นิวัติไชย: ก็มีอย่างหน่วยงานที่เราไปเข้าจับกรมอธิบดี เค้าได้คะแนน A แต่คะแนนรวมของเค้าได้ 85 เกรดA นะครับ คะแนนสูงสุดนี้เต็ม 100 เกรดAA สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: ผมเรียนอย่างนี้ว่า พอเราย้อนกลับมาดูคะแนนของเค้าเนี่ยมันจะมีคะแนนอยู่สามส่วนคือ คะแนน IIT คือคะแนนที่เจ้าหน้าที่ภายในมองภาพในองค์กรเอง สุทธิชัย: ภายใน นิวัติไชย: พบว่าหนึ่งการบริหารจัดการยังมีการเรียกรับทรัพย์สินเรื่องการซื้อขายตำแหน่งอยู่ สุทธิชัย: อ่อในรายเรียกนี้มีหรอ นิวัติไชย: การใช้เงินงบประมาณเปอร์เซ็นต์ต่ำ สุทธิชัย: อ๋ออันนี้ไม่ปรากฏออกมา นิวัติไชย: อันนี้ไม่ปรากฏให้สื่อเท่านั้นเอง สุทธิชัย: อ้าาาา นิวัติไชย: เพราะมันเป็นข้อมูลภายในเพราะฉะนั้นท่านไปดูแต่ค่าคะแนนว่า 85 สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: ก็ถามว่าopen data เค้าทำครบไหมก็ทำครบ เค้าทำครบก็ได้คะแนนสูงเต็ม 100 การให้บริการ เค้าให้บริการดีคนมาติดต่อโอเคเค้าพึงพอใจ แต่ข้อมูลภายในนี่สิครับที่เค้าตก สุทธิชัย: ตรงนี้ ต้องให้เปิดเผยนะ นิวัติไชย: ผมก็มีนโยบายแล้วว่าปีหน้าคงต้องเปิดเผยเพื่อให้สื่อเนี่ยนำรายละเอียดเนี่ย ไปถอดเลยวิเคราะห์ สุทธิชัย: ใช่ นิวัติไชย: ไม่งั้นคนก็จะเข้าใจผิดว่าเอ้ย ITA เนี้ย ทำไมหน่วยงานนี้มัน ขนาดผู้บริหารยังเรียกรับเงินสินบน ทำไมได้คะแนนสูง สุทธิชัย: ใช่อย่างนี้ไม่มีความหมายเลยคะแนน ITA เนี้ย นิวัติไชย: และผมเรียนอีกอย่างนึง ITA เนี้ย เป็นแค่เครื่องมือในเชิงบวก สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: ไม่ใช้เครื่องมือจับผิดว่าผู้บริหารคนไหนทุจริต หรือไม่ทุจริตนะครับ สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: เป็นเครื่องมือเชิงบวกเพื่อให้หน่วยงานเนี่ยเอาไปปรับปรุง สุทธิชัย: แก้ไข นิวัติไชย:ภายใน ความจริงเราไม่ต้องการเปิดเผยกับสื่อ สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: เราต้องการเปิดเผย ให้แก่หน่วยงานนั้นให้รู้ว่า ภายในคุณเขาระบุว่าเนี่ยมันยังมีการทุจริตคอรัปชั่นกันอยู่ สุทธิชัย: คุณต้องไปปรับปรุงภายในทุกคน นิวัติไชย: คุณต้องไปปรับปรุงภายในนะ คะแนนคุณถึงจะดีขึ้น สุทธิชัย: เค้าต้องแจ้งใครละ ถ้าเขาปรับปรุงหรือไม่ปรับปรุงยังไงอ่ะ นิวัติไชย: คะแนนในปีต่อไปก็จะปรากฏ ว่าถ้าคะแนน IIT คุณยังเท่าเดิม ก็แสดงว่าคุณยังไม่ได้ปรับปรุง สุทธิชัย: ปปช. เปิดเผยสิครับประชาชนจะได้รู้ นิวัติไชย: ก็กำลังคิดว่าคราวนี้ข้อมูลภายในคุณอ่ะ เราเปิดเผยคุณจะได้รู้กัน สุทธิชัย: ถูกต้องเลยครับ นิวัติไชย: ทีแรกเรามองแล้วว่า ถ้าเปิดเผยมันก็จะเป็นผลลบต่อหน่วยงานเค้า นะครับ สุทธิชัย: อือๆ นิวัติไชย: แต่คราวนี้ เรากำลังจะมองว่ากำลังจะเสนอว่ามันเป็นข้อมูลสาธารณะก็เปิดมาเลยล่ะ สุทธิชัย: ใช่ นิวัติไชย:จะได้รู้กันไปเลยว่าหน่วยงานนี้เป็นยังไงบ้าง พิธีก: และประชาชนทั่วไปก็จะได้มีภาพลักษณ์ที่ถูกต้องแม่นยำเกี่ยวกับองค์กรนั้นๆ นิวัติไชย: ถูกต้องครับ สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: คราวนี้ท่านจะได้วิเคราะห์ได้ถูกว่าไอ้ค่าคะแนน 85 มันมาจากไหนกันแน่ สุทธิชัย: ความจริงปปช. มีข้อมูลเพียงพอที่ผ่านมาด้วยซ้ำไปนะว่ามีแนวโน้มของการฮั้วกัน พฤติกรรมเป็นอย่างไรผมว่าแจ้งประชาชนได้นิ นิวัติไชย: ครับ สุทธิชัย: และประชาชนท้องถิ่นด้วยเนี่ยสามารถที่จะมาดู เอ้อจริงเนี่ยเดี๋ยวเราเช็คเข้าไปซิว่าประมูลสร้างสะพานนี้ สร้างโรงพยาบาลนี้มีบริษัทไหนบ้าง แล้วก็เช็คเอ้ย!! เนี้ย เคยมีเคสนี้นิ นิวัติไชย: มันก็เป็นความสุ่มเสี่ยงเหมือนกันการเปิดเผยข้อมูลบางครั้งมันมีลิมิตในข้อกฎหมายบางครั้งพอเปิดไปปุ๊บ เค้าได้รับผลกระทบ สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: อย่างเช่น bts เนี่ยนะครับ ปรากฏว่าพอบอกว่ามีข่าวหลุดว่ามีการแจ้งข้อกล่าวหาหุ้นตก สุทธิชัย: มีผลต่อผู้อื่น นิวัติไชย: เจ้าหน้าที่ภายในบริษัทเขาก็มาร้องแล้วว่า อ้าว..การเปิดเผยนี้เค้ายังไม่ผิดเลยเนี่ยแต่ข่าวบางทีไปลงว่าเค้าชี้มูลแล้วทั้งๆ ที่เพิ่งแจ้งข้อกล่าวหา เค้ายังมีโอกาสต่อสู้คดีจนถึงชั้นในศาล สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: นะครับ นี่คือ คือ ข้อมูลที่บางทีพลาดไป รั่วไปหลุดไป สุทธิชัย: ใช่ นิวัติไชย: และบางทีได้รับผลกระทบfeed back ต่อบริษัท สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: นะครับ อันนี้ เป็นเรื่องอันที่ต้องดูให้พอสมควรนะครับเพราะอย่างว่าว่าตราบใดที่ยังไม่ได้ตัดสินว่าเค้าผิดศาลยังไม่ได้ตัดสินลงโทษเขาเนี่ยเค้ายังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ สุทธิชัย: ครับ ผมว่าถ้าปปช.ออกข่าว ยังงั้นก็ต้องเตือนว่านี่เป็นเพียงข้อกล่าวหานะ ยังไม่มีการพิสูจน์นะ ฉะนั้นรับทราบไว้ด้วย นิวัติไชย: ครับ สุทธิชัย: ผลมันจะไม่มากเท่ากับที่ออกข่าวด้านเดียวหรือปล่อยให้ผู้กล่าวหาให้สัมภาษณ์อย่างเดียวใช่ไหมครับ นิวัติไชย: ถูกต้องครับถูกต้องอันนี้เราก็พยายามเดี๋ยว อาจจะต้องคิดวิเคราะห์เพราะเรื่องนี้มันมีกฎหมายที่คุ้มครอง สุทธิชัย: ถูกต้อง นิวัติไชย: ทั้งข้อมูลสาธารณะ และการเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย สุทธิชัย: ถูกต้อง นิวัติไชย: วันนี้ปปช. ก็พยายามจะทำแต่ถ้าเรื่องไต่สวนเนี่ย เราส่งให้สื่อมวลชนตรวจสอบบัญชีเลยว่า เรื่องไหนที่ปปช. สั่งไต่สวน สมมติมีสองพันกว่าเรื่องขึ้นบัญชีหมด สุทธิชัย: อ้าา … นิวัติไชย: ใครเป็นผู้ถูกไต่สวน สุทธิชัย: ถูกต้อง นิวัติไชย: ถูกไต่สวนในเรื่องกล่าวหาอะไร สุทธิชัย: ถูกต้องๆ นิวัติไชย: เพราะมันควรเป็นข้อมูลที่ประชาชนเขาควรรับรู้รับทราบนะครับ สุทธิชัย: ครับ นิวัติไชย: แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นผู้กระทำแต่บางครั้งพอเราเปิดเผยไป เดิมเราเคยเปิดเผย อย่างนี้ มีคนเอาไปหากิน สุทธิชัย: อันนี้เคย นิวัติไชย: เอาไปวิ่งเต้นต่อ ปปข.ได้ มีกรรมการคนนี้รู้จักกัน เอาข้อมูลนี้ เอ๊ะข้อมูลนี้รู้ได้ยังไง อ้าวปรากฎเป็นข้อมูลที่ปปช.เปิดเผยนั้นเอง มันก็เหมือนกับดาบสองคมพอสมควรต้องระมัดระวัง สุทธิชัย: ก็ใช่เพราะปปช.ก็มีทางที่จะ มันบาลานซ์ให้มันแฟร์ นิวัติไชย: ใช่ครับ สุทธิชัย:ที่จะให้ข้อมูลครบทุกด้านถ้ายังไม่ครบก็ยังไม่ออกมา ถ้าออกมาต้องให้ครบทุกด้าน นิวัติไชย: ครับถ้าออกมาต้องให้ครบ สุทธิชัย: ผมว่าตรงนี้ข่วยได้ นิวัติไชย: ก็ต้องระมัดระวังครับผม มันมีในแง่ของกฎหมายคือความรับผิดเนี่ย สุทธิชัย: คือกฎหมายอย่างเดียวและความเป็นธรรมด้วยใช่ไหม นิวัติไชย: ใช่ครับถูกต้องครับ สุทธิชัย: เพราะอยู่ดีๆ ใครจะกันแกล้งใคร กล่าวหาปั๊บเนี้ย มายื่นเรื่องเสร็จก็ ข่าวก็ออกมายังไม่มีการสอบสวนอะไรเลย นิวัติไชย: ยังไม่มีการชี้มูลวินิจฉัยเลย เพราะไม่ได้กระทบแต่ตัวเค้าเองกระทบต่อครอบครัวเขาชื่อเสียงเกียรติยศเขาด้วย โดยเฉพาะเค้าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ สุทธิชัย: ถูกต้อง นิวัติไชย: ไอ้เนี้ยอะครับ ที่เราจะต้องระมัดระวังพอสมควร เพราะฉะนั้นถึงบอกการทำงานของ ปปช. เนี้ยไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ โอกาสพลาดพลั้ง โอกาสที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีก็มีสูง สุทธิชัย: ใช่ครับ แต่นี่ก็เป็นการทำงาน เพื่อสาธารณะชน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ นิวัติไชย: เป็นเรื่องสำคัญครับ สุทธิชัย: ความเสี่ยงย่อมมีและความเสี่ยงนั้นถ้าทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน ประเทศชาติผมว่าก็ ก็เป็นความเสี่ยงที่น่าชื่นชม นิวัติไชย: ครับผม ขอบคุณมากครับผม สุทธิชัย: นี่ครับกาแฟดำ ติดตามท่านเลขา ปปช. มาพูดในขณะนี้ที่เรากำลังได้ยินพรรคการเมืองหาเสียงกันอยู่แล้วก็ตั้งข้อสังเกตว่า เอ้..ครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะพูดเรื่อง ปราบปรามคอรัปชั่นป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่นน้อยกว่าทุกครั้งหรือเปล่า และก็ต้องติดตามนะครับเพราะว่าท้ายที่สุดมันคือภาษีของเราเอง ทุกบาททุกสตางค์ที่เราจ่ายเป็นภาษีนั้น นักการเมืองที่ได้รับเลือกเค้าเอามาใช้เพื่อบริหารประเทศ เราก็ต้องตรวจสอบและปปช. เป็นกลไกที่สำคัญที่จะทำหน้าที่แทนเรา และปกป้องผลประโยชน์ของเราครับ สุทธิชัย: วันนี้ขอขอบคุณมากครับท่านเลขาครับ นิวัติไชย: ขอบคุณครับ สุทธิชัย: หวัดดีครับ นิวัติไชย: หวัดดีครับ

 เครื่องมือตรวจสอบของประชาชนเข้าถึงได้ขนาดไหน-

By admin

Related Post